ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก นางสาวกมลรัตน์ อินสอน คบ.2 หมู่2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำทักทายผู้ชม

      สวัสดีค่ะดิฉันนางสาวกมลรัตน์ อินสอน นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ชั้นปีที่2 หมู่2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สำหรับเว็บบล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน วิชานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่เข้ามาชมเว็บบล็อกนี้จะได้รับประโยชน์และความรู้ไม่มากก็น้อย  ขออภัยไว้ ณ ที่นี้หากมีข้อผิดพลาดประการใด     

คำอธิบายรายวิชา

      ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรมสามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ สำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้อง กับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีสามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้
     เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมดังนี้
         1.อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ และแนวคิดนวัตกรรม เทคโนโลยี      และสารสนเทศทางการศึกษาได้
         2.อธิบายบทบาท คุณค่า ประเภท และประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาได้
         3.อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
         4.บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน
        5.บอกความหมาย ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้ การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละวัยได้
        6.วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการศึกษาได้
        7.ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
        8.ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
        9.ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอนได้
        10.ประเมินผลนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
        11.ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี   และสารสนเทศทางการศึกษา
        12.ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้

เนื้อหาบทเรียน/หน่วยการเรียนรู้
     หน่วยการเรียนที่ 1  แนวคิด  ทฤษฎี  ความหมาย  ความสำคัญของนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา
     หน่วยการเรียนที่ 2  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
     หน่วยการเรียนที่ 3  สื่อการเรียนการสอน
     หน่วยการเรียนที่ 4  วิธีระบบ
     หน่วยการเรียนที่ 5  จิตวิทยาการเรียนการสอน
     หน่วยการเรียนที่ 6  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู
     หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
     หน่วยการเรียนที่ 8  หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
     หน่วยการเรียนที่ 9  สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
     หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน

กิจกรรมการเรียนรู้
      1.รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (blended learning) ระหว่างการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ (Face-to-Face or Traditional Classroom) กับการเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online Learning with Weblog) โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
      2.เทคนิควิธีสอน
          2.1 การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
          2.2 การมอบหมายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
          2.3 การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น
                - การซักถาม
                - การอภิปราย
                - การทำแบบฝึกหัด
                - การแสดงผลงาน

การบูรณาการกับความพอเพียง

      เศรษฐกิจพอพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม


         ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม

      ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้

            ข้อที่ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

          ข้อที่ 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

        ข้อที่ 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้

            ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

            การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

       ข้อที่ 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้

                  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

              เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

       ข้อที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยีนั่นคือ หลักแนวคิด และแนวทางเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามได้




 การบูรณาการกับความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์สุจริต ความเพียร

                     " ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายจงมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะคุณธรรมอันนี้เป็นมูลฐาน อันสำคัญที่จะยังความเจริญ และความเป็นปึกแผ่นแก่สังคม เป็นบ่อเกิด แห่งความสามัคคีกลมเกลียว ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ หมายถึง ความสุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ที่เกี่ยวข้อง มีเจตนาบริสุทธิ์ไม่เอารัดเอาเปรียบ สำหรับท่านที่ใช้วิชากฎหมาย ย่อมกินความถึงการรักษาความเป็นธรรม ไม่บิดเบือน ความหมายของตัวบทกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของตนเองด้วย ความซื่อสัตย์สุจริตจะเป็นเสมือนหนึ่งเกราะคุ้มภัยแก่ท่านตลอดไป ดังบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า สุจริตคือเกราะบัง สาตรพ้อง” "
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๖)


         " ท่านทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษาและจะได้ออกไปประกอบการงานเริ่มต้นชีวิตใหม่ของท่านนั้น ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอคือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการคือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของ มวลชนทั่วไป ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีต่อท่านทั้งหลาย ในเกียรติ ที่ท่านได้รับ ณ ท่ามกลางสันนิบาตนี้และขอให้ท่านจงรำลึกถึงเกียรตินี้ และรักษาไว้ด้วยความสัตย์สุจริต ให้สมกับพุทธภาษิต ว่า คนย่อมได้เกียรติคือชื่อเสียงเพราะความสัตย์” "

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ๑๒ มิถุนายน ๒๔๙๗)